รายการบล็อกของฉัน

1/20/2553

เยาวชนกับยาเสพติด


เยาวชนกับยาเสพติด
เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติดคนส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มผู้ผลิตผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติดโดยเฉพาะผู้เสพยาเสพติดที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงทำให้ ้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ครู ผู้ปกครององค์กรภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจน สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเฉพาะการพยายามสืิอสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ เด็กและเยาวชน ให้มีชีวิตที่ดีงาม ห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งต้องระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสรรหาวิธีการและเลือกเฟ้นเนื้อหาข้อความที่เข้าถึงเยาวชนได้ตรงจุดทั้งนี้เพราะเด็กและเยาวชนนั้นจะมีลักษณะพิเศษ เช่น ไม่ชอบให้ใครว่ากล่าวตักเตือนตรงๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่แต่จะรับข่าวสารข้อมูล ได้มากขึ้นถ้าเยาวชนด้วยกันเป็นผู้ให้ข่าวสารข้อมูลนั้น หรือตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)

อิทธิพลของเพื่อน
เพื่อนเป็นคนสำคัญของเราก็จริงอยู่แต่ถ้าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราในทางที่ไม่ดีพาไปเสียผู้เสียคนในฐานะที่เราเป็นเพื่อนก็ต้องให้สติด้วยการตักเตือนและปฏิเสธไม่ทำตามและชักจูงให้เขาได้ใช้ชีวิตที่ถูกต้องและดีงามแต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเหลือบ่ากว่าแรงก็คงต้องโบก มือลาเลิกคบเสียดีกว่า ถือคติที่ว่า “มีเพื่อนดีเพียงหนึ่งถึงจะต้องดีกว่าเพื่อนร้อยเพื่อนเลว”ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติดไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเองเรื่องบางเรื่องจำเป็นต้องพิสูจน์ ด้วยตนเองแล้วจึงเชื่อแต่เรื่องยาเสพติดไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เพราะกาลเวลาผ่านมา กี่ยุคกี่สมัย ยาเสพติดก็ยัง เป็นสิ่งที่มีโทษพิษภัยต่อร่างกายและมีผลกระทบทำลายครอบครัว ชุมชน และความมั่นคงของประเทศชาติหากลูกหลายจะลงทุนพิสูจน์ยาเสพติดด้วยการทดลองใช้ด้วยตนเองก็เป็นการลงทุนที่สูงมากไม่คุ้มกับการลงทุนเพราะยาเสพติดมีฤทธิ์ ทางเภสัชทำให้เสพติดได้และเลิกได้ยาก บางทีอาจสูญเสียเวลาและอนาคตกับเรื่องนี้ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดทดลองเลยจะดีกว่าเยาวชนจะต้องรู้เท่าทันผู้ค้ายาเสพติด เยาวชนส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียนมีเงินอยู่ในกระเป๋าเสมอสําหรับค่าขนมและค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่จำเป็นซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองให้มา จึงทำให้ผู้ลักลอบค้ายาเสพติด มีความมั่นใจ ว่าการค้ายาเสพติดให้กับเยาวชนนั้นจะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอและใช้กลยุทธ์ในการขาย แบบขายตรงในกลุ่มเพื่อนสนิทและด้วยความเป็นเพื่อนสนิท จึงไม่กล้าเปิดเผย ความผิดของเพื่อนและไม่กล้าปฏิเสธเพื่อนจึงทำให้การแพ่รระบาดยาเสพติดเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วจึงจำเป็นที่เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันกลลวงของผู้ค้ายาเสพติดที่จ้องจะดูดเงินค่าขนมในกระเป๋าของเยาวชนตลอดมา


ติดกีฬาก็มีความสุขได้
การเล่นกีฬาไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเลือกที่เบี่ยงเบนความสนใจของเยาวชนให้ห่างไกลยา เสพติดเท่านั้น แต่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อว่าการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬานั้นจะทำให้ ต่อมไร้ท่อใต้สมอง หลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งชื่อ “เอนโดฟีน” ออกมาซึ่งสารชนิดนี้จะทำให้รู้สึกสดชื่นและเป็นสุขผู้ทีออกกำลังกายอยู่เสมอจึงมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์สมกับที่กล่าวว่า “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ดังนั้น จึงควรที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อให้มีสาร “เอนโดฟีน” อยู่ในร่างกายเกิด ความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด

ความเครียดกับสุขภาพ


โดยทั่วไปความเครียดมักจะเกิดขึ้นเป็นช่วงสั้น ๆ และหายไปเมื่อเราผ่านเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ในช่วงสอบนักเรียนมักจะรู้สึกกังวลว่าจะทำข้อสอบไม่ได้ หรือพนักงานบริษัทกลัวว่าจะไปทำงานไม่ทันขณะขับรถที่ติดแง่กอยู่บนทางด่วน เป็นต้น เนื่องจากเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นาน ความเครียดประเภทนี้จึงไม่ได้ส่งผลร้ายต่อร่างกายคนเรามากนัก แต่ก็อาจจะทำให้รู้สึกปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ หรือท้องไส้ปั่นป่วนได้ช่วงใกล้สอบ, ต้องเข้าโรงพยาบาล, นั่งลุ้นรางวัลกองสลาก, เดินทางไปบ้านเจ้าสาวเพื่อเผชิญหน้าอนาคตพ่อตาแม่ยาย, หรือเมื่อทราบว่าคน ใกล้ชิดเสียชีวิต ? แน่นอน , แต่ละคนคงมีคำตอบที่หลากหลายบางคนก็เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัวเหตุการณ์ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของอีกหลาย ๆ สาเหตุความเครียดของมนุษย์ เพราะคนเราทุกคนต่างดำรงชีวิตอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่ยากแก่การคาดเดา นอกจากเวลาที่ผ่านไปกับการเดินของเข็มนาฬิกาซึ่งเป็นสิ่งที่แน่นอนแล้ว, เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะต้องเผชิญหน้ากับอะไรแม้เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีข้างหน้า ธรรมชาติจึงสร้างมนุษย์ขึ้นมาบนพื้นฐานของความยืดหยุ่นและการปรับตัว เรามีความสามารถในการหาคุณค่าของสิ่งรอบข้างและนำมันมาใช้ ตลอดจนเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส แต่กระนั้น ความสามารถของเราก็ยังคงมีข้อจำกัด และเมื่อใดที่ความเป็นไปของธรรมชาติรอบข้างก้าวเลยขอบเขตนั้น มนุษย์ก็จะเกิดความไม่สบาย ทุกข์ใจ และกลายเป็นความเครียดขึ้นความเครียด คือ "กระบวนการที่ร่างกายใช้เพื่อตอบสนองต่อแรงกระตุ้นจากภายนอกที่ไม่เหมาะสม หรือมากเกินความสามารถในการปรับตัวของมนุษย์" นั่นเองความสำคัญความเครียด เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดการตื่นตัว เตรียมรับกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเราคิดว่าไม่น่าพอใจ เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเกินกำลังทรัพยากรที่เรามีอยู่ หรือเกินความสามารถของเราที่จะแก้ไขได้ ทำให้รู้สึกหนักใจ เป็นทุกข์ และพลอยทำให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกายและพฤติกรรมตามไปด้วยความเครียดนั้นเป็นเรื่องที่มีกันทุกคน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา การคิด และการประเมินสถานการณ์ของแต่ละคน ถ้าเราคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ร้ายแรง เราก็จะรู้สึกเครียดน้อยหรือแม้เราจะรู้สึกว่าปัญหานั้นร้ายแรง แต่เราพอจะรับมือไหว เราก็จะไม่เครียดมาก แต่ถ้าเรามองว่าปัญหานั้นใหญ่ แก้ไม่ไหว และไม่มีใครช่วยเราได้ เราก็จะเครียดมาก ความเครียดในระดับพอดี จะช่วยกระตุ้นให้เรามีพลัง มีความกระตือรือร้นในการต่อสู้ชีวิต ช่วยผลักดันให้เราเอาชนะปัญหาและอุปสรรค์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น แต่เมื่อใดที่ความเครียดมาเกินไป จนเราควบคุมไม่ได้ เมื่อนั้นที่เราจะต้องมาผ่อนคลายความเครียดกันดังนั้น ความเครียด เป็นสภาวะจิตใจและร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นผลจากการที่บุคคลต้องปรับตัวต่อสิ่ง กระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่กดดันหรือคุกคามให้เกิด ความทุกข์ ความไม่สบายใจสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด ความเครียดเกิดจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการคือ1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ปัยหาการเงิน ปัญหาการงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน ปัญหาสุขภาพ ปัญหามลพิษ ปัญหารถติด ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาฝนแล้ง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้คนเราเกิดความเครียดขึ้นมาได้2. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล เราจะสังเกตได้ว่า คนที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจังกับชีวิต และใจร้อน นอกจากนี้คนที่รู้สึกว่าตัวเองมีคนคอยให้การช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาเช่น มีคู่สมรส มีพ่อแม่ ญาติพี่น้อง มีเพื่อนสนิทที่รักใคร่ และไว้วางใจกันได้ ก็จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่อยู่โดดเดี่ยวตามลำพังความเครียดมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุเพียงใดสาเหตุเดียว แต่มักจะเกิดจากทั้งสองสาเหตุประกอบกัน คือมีปัญหาเป็นตัวกระตุ้น และมีการคิด การประเมินสถานการณ์ เป็นตัวบ่งบอกว่าจะเครียดมากน้อยแค่ไหนนั่นเองแนวทางในการจัดการกับความเครียด มีดังนี้1. หมั่นสังเกตควาผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมที่เกิดจากความเครียด ทั้งนี้อาจใช้แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองก็ได้2. เมื่อรู้ตัวว่าเครียดจากปัญหาใด ให้พยายามแก้ปัญหานั้นให้ได้โดยเร็ว3. เรียนรู้การปรับเปลี่ยนความคิดจากแง่ลบให้เป็นแง่บวก4. ผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีที่คุ้นเคย5. ใช้เทคนิคเฉพาะในการคลายเครียดการสำรวจความเครียดของตนเองความเครียดจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมดังนี้1.ความผิดปกติทางร่างกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือท้องผูก นอนไม่หลับหรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มือเย็นเท้าเย็น เหงื่อออกตามมือตามเท้า ใจสั่น ถอนหายใจบ่อย ๆ ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นหวัดบ่อย ๆ แพ้อากาศง่าย ฯลฯ2.ความผิดปกติทางจิตใจ ได้แก่ ความวิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เหงา ว้าเหว่ สิ้นหวัง หมดความรู้สึกสนุกสนาน เป็นต้น3.ความผิดปกติทางพฤติกรรม ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรามากขึ้น ใช้สารเสพติด ใช้ยานอนหลับ จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อย ๆ ดึงผม กัดเล็บ กัดฟัน ผุดลุกผุดนั่ง เงียบขรึม เก็บตัว เป็นต้น ทั้งนี้ อาจสำรวจความเครียดของคุณได้โดยการใช้แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองผลกระทบของความเครียดผลกระทบต่อตนเองทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว หัวใจเต้นแรงและเร็ว มือ เท้าเย็น ท้องอืด คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลนทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด โกรธง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯทางด้านความคิด เช่น หดหู่ ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจลำบาก หลงลืมง่าย มีความคิดทางลบมากกว่าทางบวก เห็นตัวเองไม่มีคุณค่า สิ้นหวัง ฯลฯทางพฤติกรรม เช่น ดื่มจัดมากเกินไป สูบบุหรี่จัด ไม่เจริญอาหาร ก้าวร้าว นอนไม่เต็มที่ ฯลฯผลกระทบของความเครียดต่อครอบครัวครอบครัวขาดการสื่อสารที่ดีซึ่งกันและกันไม่ยอมรับและไม่มีความเข้าใจกันเกิดความขัดแย้งทะเลาะวิวาท เกิดการหย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ระหว่างสามีภรรยา ลูกไม่ได้รับความรักความอบอุ่น และความเอาใจใส่จากพ่อแม่
ผลกระทบของความเครียดต่อการงานไม่มีสมาธิในการทำงาน ทำงานบกพร่องและผิดพลาดไม่รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายขาดงานบ่อยประสิทธิภาพในการทำงานลดลงข้อดีและข้อเสียของความเครียดความเครียดในระดับต่ำในระยะสั้นๆ จะทำให้มีการตื่นตัว มีความกระตือรือร้นในการทำงาน เช่น ก่อนสอบจะมีสมาธิในการอ่านหนังสือ ข้อเสีย ถ้ามีความเครียดระดับสูงในระยะยาวไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลเสียต่อตนเองครอบครัว การงาน3. วัตถุประสงค์ของ การทำBlog1.เข้าใจเกี่ยวกับความหมายของความเครียด 2.รู้สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด การตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด3.รู้หลักการหรือวิธีการจัดการกับความเครียด4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ1. เมื่อเราเกิดความเครียดทำให้เรารู้จักวิธีการจัดการกับความเครียด2. รู้ปัญหาที่ทำให้เราเกิดความเครียด3.รู้หลักการในการสำรวจความเครียดของตนเอง

Crystal Structure of laccase


แลคเคส (Laccase )
แลคเคสได้รับความสนใจมากจากนักวิจัยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากแลคเคสเป็นเอนไซม์ในกลุ่มออกซิโดรีดักเดส (Oxidoreductase) ที่สามารถเกิดปฏิกิริยา โดยให้อิเล็กตรอนและมีโมเลกุลออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอน (Malmstrom, 1982) จึงมีการเรียกชื่อเอนไซม์แลคเคสตามชื่อแบบระบบ (Systematic name) ว่า EC 1.10.3.2 หมายความว่า เอนไซม์ที่อยู่ในกลุ่มเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันรีดักชัน โดยมีการย้ายอิเล็กตรอนจากโมเลกุลหนึ่งไปยังโมเลกุลหนึ่งและเป็นเอนไซม์ที่มีโมเลกุลของโลหะคอปเปอร์ (Cu+2) เป็นองค์ประกอบภายในโครงสร้างโมเลกุลด้วย (Dooley, 1999) เอนไซม์แลคเคสจะเข้าไปเป็นตัวคะตะไลส์หรือเป็นตัวเร่งในปฏิกิริยาและมีความสามารถในการใช้สับสเตรทได้หลากหลายชนิด เช่น polyphenol, aromatic, benzinethiols, anthraquinone, syringalazine, 2,6 dimethoxyphenol, veratryl alcohol, 2,5 xylidiene, ferulic acid และยังมีสับสเตรทที่เป็นพวก non-phenolic compounds เช่น HAA, HPI, VLA และABTS เป็นต้น (Bourbonnais และคณะ, 1990)
O 2 - + 2H + → H 2 O

ในปี 1883 มีผู้ค้นพบเอนไซม์แลคเคสเป็นครั้งแรกจากต้นไม้ชื่อ Lacquer (Rhus vernicifera) ในประเทศญี่ปุ่น (Yoshida, 1883) ต่อมาในปี 1998 มีผู้ค้นพบเอนไซม์แลคเคสในเชื้อราจำพวกไวท์รอทหลายชนิด, แบคทีเรีย, พืชชั้นสูงและแมลงบางชนิด (Frederic และคณะ, 1998) แต่ส่วนมากจะพบในกลุ่มเชื้อราเป็นส่วนใหญ่ เช่น Trametes versicolor (Gonzaloและคณะ, 2003), Pleurotus strain 32 (Hougmam และคณะ, 2004), Pycnoporus cinnabarinus (Juan และคณะ, 2005), Trametes hirsute (Susana และคณะ, 2005), Monotospora sp. (Wang และคณะ, 2006), Phanerochaete chrysosporium NCIM 1197 (Gnanamani และคณะ, 2006) และพบในแบคทีเรียที่มีสปอร์ห่อหุ้มด้วยโปรตีน cotA จากรายงานพบใน Bacillus subtilis (Enguita, 2003)






โครงสร้างผลึกของแลคเคส (Crystal structure of laccase)
ความหมายของโครงสร้างผลึก
โครงสร้างผลึก (Crystal structure) คือ การจัดเรียงกันของอะตอมเป็นการเฉพาะตัวในผลึก โครงสร้างผลึกประกอบด้วย หน่วยเซลล์ (Unit cell) ซึ่งเป็นกลุ่มของอะตอมที่จัดเรียงกันในทางเฉพาะเป็นโครงสร้างสามมิติ รูปผลึก (Crystal form) เกิดจากการจับกันหรือจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบของอะตอมในโครงสร้างภายในและปรากฏเป็นรูปผลึกมีหน้าผลึกด้านต่างๆ ประกอบกันขึ้นมาเป็นรูปทรงเรขาคณิตแตกต่างกัน ซึ่งสามารถจัดแบ่งออกได้รูปแบบผลึกโดยพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ของผลึก (Http://www.eng.mut.ac.th/upload_file/article/391.ppt)
ลักษณะโครงสร้างผลึกของแลคเคส
การศึกษาโครงสร้างผลึกของแลคเคส (Laccase) ใช้ความละเอียดขนาด (Resolution) 1.5 Aº ใช้เทคนิคการแทนที่ของโมเลกุล โดยใช้รูปต้นแบบของแลคเคสจากเชื้อ Coprinus cinereus (pdb code : 1HFU) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างโปรตีนแบบพับขดงอและเป็นโปรตีนก้อนที่รวมกับน้ำตาล เรียกว่า ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) ที่มีขนาด 70 × 60 × 50 Aº โครงสร้างโมเลกุลที่มีการจัดเรียงโดเมน (Cupredoxin-like domains) ในแต่ละโดเมนมีการต่อแบบ greek key β-barrel กับอะตอมของคอปเปอร์ 3 กลุ่ม (ภาพที่ 1) โดยโดเมนที่ 1 อยู่ในช่วง 1-141 , โดเมนที่ 2 อยู่ในช่วง 142-303 และโดเมนที่ 3 อยู่ในช่วง 304-498 โครงสร้างโมเลกุลของแลคเคสมีความแข็งแรงและเสถียรมาก เนื่องจากการสร้างพันธะไฮโดรเจนซัลไฟด์ระหว่าง Cys85 กับ Cys485 ของโดเมนที่ 1 และ 3 ตามลำดับ และระหว่าง Cys117 กับ Cys204 ในโดเมนที่ 1 และ 2 แสดงโครงสร้างแลคเคสที่คล้ายกับแลคเคสในกลุ่มเชื้อรา Basidiomyceteous และ Trametes versicolor (Hakulinen และคณะ, 2002)
ตำแหน่งที่เกิด N-glycosylation ประกอบด้วย 3-10 ตำแหน่ง มีการเกิด Glycosilaytion 5 พันธะ ที่เชื่อมต่อด้วย α-linked ที่ Asn โดย N-acetylglucosamime 2โมเลกุล และเชื่อมต่อด้วย β-linked จับกับ Asn โดย N-acetylglucosamime 3โมเลกุล (Ryde และคณะ, 2007)

ภาพที่ 1 แสดงโครงสร้างผลึกของ Trametes versicolor ประกอบด้วย 3 โดเมนที่จับกับกลุ่มคอปเปอร์ 3 กลุ่ม โดยโดเมนที่ 1 (สีน้ำเงิน) โดเมนที่ 2 (สีเขียว) และโดเมนที่ 3 (สีส้ม) มีสับสเตรท ABTS จับบริเวณ Mononuclear และมีพันธะไฮโดรเจนซัลไฟด์ (สีเหลือง) เกิดขึ้นด้วย

กลุ่มคอปเปอร์ภายในโครงสร้างของแลคเคส (Copper type in structure of laccase)
กลุ่มคอปเปอร์ที่เป็นองค์ประกอบภายในโครงสร้างโมเลกุลของแลคเคสมี 3 กลุ่ม (Dooley, 1999) คือ
1. กลุ่มคอปเปอร์ T1 (Type-1-copper)
เป็นคอปเปอร์สีน้ำเงินที่มีอะตอมของคอปเปอร์อยู่แบบเดียวๆ มีความสามารถในการ Absorbance อิเล็กตรอนที่ 610 นาโนเมตร
2. กลุ่มคอปเปอร์ T2 (Type-2-copper)
เป็นคอปเปอร์ที่ไม่มีการ Absorbance อิเล็กตรอน แต่จะมีการสร้าง EPR ซึ่งเป็นสัญญาณของโปรตีนจะทำงานร่วมกับคอปเปอร์ T3
3. กลุ่มคอปเปอร์ T3 (type-3-copper)
เป็นคอปเปอร์ที่มีอะตอมอยู่กันเป็นคู่หมุนกับคู่ของคอปเปอร์ จะมีการ Absorbance อิเล็กตรอนที่ 330 นาโมเมตร
มีการค้นพบว่าแลคเคสมีลักษณะเป็นโครงสร้างผลึกครั้งแรกจากเชื้อ Coprinus cinereus ประกอบด้วยกลุ่มคอปเปอร์ 3 กลุ่มอย่างละ 1 โมเลกุลจัดเรียงกันเป็น 2 มิติกับโดเมน 3 โดเมน (Ducros และคณะ, 1998) แต่ปัจจุบันพบว่าแลคเคสมีโครงสร้างโมเลกุลเป็น 3 มิติประกอบด้วย 1 โมเลกุลของคอปเปอร์ T1 (Type-1-copper) กับคอปเปอร์ T2 (Type-2-copper) และ 2 โมเลกุลของคอปเปอร์ T3 (Type-3-copper) (Gonzaloและคณะ, 2003)
บริเวณที่จับกับสับสเตรทของแลคเคส (Substrate binding sites of laccase)
โครงสร้างผลึกของแลคเคสไม่แสดงลักษณะเฉพาะของตำแหน่งที่เร่งปฏิกิริยา(Active site) แต่มีการรีดิวซ์สับสเตรทและถ่ายโอนอิเล็กตรอนไปยังคอปเปอร์ T1 (Type-1-copper) ซึ่งอยู่ในโดเมนที่ 3 บริเวณที่จับกับสับสเตรทของแลคเคสเป็นบริเวณที่มีขนาดใหญ่อยู่ใกล้บริเวณคอปเปอร์ T1 (Type-1-copper) ซึ่งกรดอะมิโนส่วนใหญ่เป็น Histidine (His) และเป็นลิแกนของคอปเปอร์ T1 (Type-1-copper) ล้อมรอบด้วยกรดอะมิโนที่เกี่ยวข้องกับการจับของสับสเตรทต่างๆ จึงทำให้แลคเคสมีสมบัติความจำเพาะเจาะจงกับสับสเตรทได้หลากหลายชนิด ส่วนบริเวณที่ไม่ชอบน้ำจะเป็นกรดอะมิโนชนิด Phe อาจพบร่วมกับกรดอะมิโนที่ชอบน้ำ เช่น Asp, Lys, Tyr และ Prolines ตำแหน่งที่มี Pro ซึ่งความหลากหลายของชนิดกรดอะมิโนนี้สามารถอธิบายได้ถึงศักยภาพการรีดิวซ์ (Redox potential) ของโมเลกุลคอปเปอร์ T 1 (Type-1-copper) ( > 700 mV ) ซึ่งเปรียบเทียบได้กับแลคเคสที่พบใน Trametes versicolor (Hakulinen และคณะ, 2002)
ภาพที่ 2 แสดงบริเวณที่จับกับสับสเตรท (Substrate binding sites) ภายในโครงสร้างผลึกของ Trametes versicolor

บริเวณที่ใช้งานภายในโครงสร้างผลึกของแลคเคส (Active sites of laccase)
1. บริเวณที่ใช้งานของกลุ่มคอปเปอร์ T1 (Mononuclear site)
บริเวณที่ใช้งานครั้งแรกพบว่าอยู่ใกล้กับผิวภายนอกโมเลกุลและเป็นบริเวณที่จับกับสับสเตรทที่เป็นสารอินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฟีนอล (Phenols) หรือกลุ่มอัลลาไมด์ (Arylamines) จะออกซิไดส์อิเล็กตรอนแล้วปล่อยอิเล็กตรอนไป โดยผ่านกลุ่มคอปเปอร์ T1 (Type-1-copper) ส่วนที่จับกับ His และ Cys ทั้งหมด (ภาพที่ 3A) เป็นส่วนของโดเมนที่ 3 และจะส่งเข้าไปยังบริเวณ Trinuclear (T2/T3) (Solomon และคณะ, 2001)
2. บริเวณที่ใช้งานของกลุ่มคอปเปอร์ T2/T3 (Trinuclear site)
เมื่ออิเล็กตรอนถูกส่งเข้ามาบริเวณ Trinuclear (T2/T3) อิเล็กตรอนจะถูกถ่ายโอนผ่านช่องทาง 2 ช่องทางภายในโครงสร้างโมเลกุลของแลคเคส (Intramolecular) (Morgunova และคณะ, 2006) อิเล็กตรอนจะถูกถ่ายโอนผ่านบริเวณที่มี Cys และHis 2 ตัวของคอปเปอร์ T1 (Type-1-copper) ไปยังบริเวณที่ใช้งานบริเวณที่ 2 คือ บริเวณ Trinuclear (T2/T3) บริเวณนี้จะจับและรีดิวซ์โมเลกุลของออกซิเจนได้น้ำเกิดขึ้น ซึ่งบริเวณ Trinuclear จะประกอบด้วย 1 โมเลกุลของกลุ่มคอปเปอร์ T2 (Type-2-copper) และ 2 โมเลกุลของกลุ่มคอปเปอร์ T3 (Type-3-copper) จัดอยู่ในลักษณะรูปสามเหลี่ยมอยู่ระหว่างโดเมนที่ 1 กับ โดเมนที่ 3 จับกับ His 8 ตัวและ 2 โมเลกุลของน้ำ ส่วนกลุ่มคอปเปอร์ T2 มีลักษณะเป็นไตรโคออดิเนส (Tricoordinated) จับกับ His 2 ตัวและ 1 โมเลกุลของน้ำ 2 โมเลกุลของกลุ่มคอปเปอร์ T3(a) เป็นบริเวณที่จับกับสาร His111, His399 และ His449 ส่วน T3(b) เป็นบริเวณที่จับกับสาร His66, His109 และ His451 นอกจากนี้ยังมีการจับกับโมเลกุลของน้ำแบบไม่สมมาตร (Asymmetrically) กับ 2 โมเลกุลของกลุ่มคอปเปอร์ T3 (T3 (a) ระยะทาง 2.98 Å และ T3 (b) มีระยะทางเท่ากับ 2.23 Å) (ภาพที่ 3B) พื้นผิวของตัวทำละลายมี 2 ช่องทางในการถ่ายโอนอิเล็กตรอนให้เข้าไปยังบริเวณ Trinuclear (T2/T3) ภายในโครงสร้างโมเลกุลของแลคเคส ซึ่งช่องทางแรกเป็น 2 โมเลกุลของกลุ่มคอปเปอร์ T3 (Type-3-copper) ด้านหนึ่งของกลุ่ม T2/T3 ช่องทางนี้จะยอมจับกับโมเลกุลของออกซิเจน ส่วนช่องทางที่ 2 เป็นโมเลกุลของกลุ่มคอปเปอร์ T2 (Type-2-copper) จะรีดิวซ์โมเลกุลของออกซิเจนได้น้ำเกิดขึ้นและน้ำจะเคลื่อนที่ไปผสมกับตัวทำละลายต่อไป (Lee และคณะ, 2002)

ภาพที่ 3 (A) แสดงบริเวณที่ใช้งานของกลุ่มคอปเปอร์ T1 (Mononuclear site) และ (B) แสดงบริเวณที่ใช้งานของกลุ่มทองแดง T2/T3 (Trinuclear site)


ปฏิกิริยาของแลคเคส (Reaction of laccase)
แลคเคสจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชันรีดักชันกับอิเล็กตรอนของสับสเตรทบริเวณ Mononuclear (Type-1-copper) แล้วอิเล็กตรอนจะถูกถ่ายโอนผ่าน His-Cys-His ซึ่งเป็นบริเวณ Trinuclear (Type-2-copper/Type-3-copper) บริเวณนี้จะทำหน้าที่รีดิวซ์โมเลกุลของออกซิเจนได้น้ำเกิดขึ้นและจะส่งออกภายนอกต่อไป โดยอิเล็กตรอนจะถูกถ่ายโอนผ่านช่องทางสำหรับการถ่ายโอนอิเล็กตรอนอยู่ 2 ช่องทาง ซึ่งเป็นบริเวณ Trinuclear (T2/T3) ช่องทางแรกเป็นโมเลกุลของคอปเปอร์ T3 (Type-3-copper) ช่องทางนี้จะจับกับโมเลกุลของออกซิเจน ส่วนช่องทางที่ 2 เป็นโมเลกุลของคอปเปอร์ T2 (Type-2-copper) ช่องนี้จะทำการรีดิวซ์โมเลกุลของออกซิเจนได้น้ำเกิดขึ้น (ภาพที่ 4 ) และน้ำจะเคลื่อนที่ไปผสมกับตัวทำละลายต่อไป (Rulisek และคณะ, 2005)

ภาพที่ 4 แสดงวัฎจักรปฎิกิริยาของแลคเคส